Monday, April 30, 2018

issue รายงานออกแบบตัวอักษร

https://issuu.com/kitikohdrunkard/docs/________________________


















วิธีการออกแบบฟ้อนต์

วิธีการออกแบบฟ้อนต์

  ในการออกแบบฟ้อนต์ครั้งนี้ได้ใช้แบบของฟ้อนต์ CRU-LandChand ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


ผลงานออกแบบอักษร(Typeface Design)และชุดตัวพิมพ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์(font computer program) เป็นผลงานวิจัยสร้างสรรค์(Creative Research)ที่เกิดจากงานวิจัยเรื่อง การออกแบบกราฟิกเอกลักษณ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี 2553 โดยที่ผู้ออกแบบ วิจัย สร้างสรรค์ ต้องการให้เป็นชุดตัวอักษรที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นตามโครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทย ได้กลมกลืนกับแบบตราสัญลักษณ์ของราชภัฏเดิม และมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมปัจจุบัน ที่สื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์ ที่มาของความเป็นสถาบันราชภัฏและความเชื่อมโยงกันของมหาวิทยาลัยกลุ่มของราชภัฏ สามารถนำไปใช้ร่วมติดตั้งใช้ได้กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยออกแบบพัฒนาให้นำไปใช้เป็นอักษรแบบตกแต่ง(Display Typeface)และตัวเรียงพิมพ์ข้อความ(Text Typoeface) เนื้อหาเอกสารตำรา ในสื่อหรืองานสิ่งพิมพ์ เป็นส่วนประกอบร่วมในงานทัศนสื่อสาร เพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์มาตรฐานเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และหรือเพือภาระงานทัศนสื่อสารด้านการศึกษาและการแบ่งปันความรู้และพัฒนาสืบเนื่องตามเงื่อนไขสัญญาอนุญาตใช้ อันประกอบด้วยแบบอักษรและชุดตัวพิมพ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 ชุดได้แก่ 1.ซีอาร์ยู-จันทรเกษม CRU-Chandrakasem version 1.0 2.ซีอาร์ยู-ราชภัฏ CRU-Rajabhat version 1.0 และ 3.ซีอาร์ยู-ลานจันทร์ CRU-LanChand version 1.0
เจ้าของลิขสิทธิ์ผลงาน ผศ.ประชิด ทิณบุตร และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประเภทงานลิขสิทธิ์ ผลงานทางวรรณกรรม(คอมพิวเตอร์)
ขึ้นตอนในการทำ
1.เมื่อเราได้แบบที่เราต้องการแล้วให้เราร่างฟ้อนต์ตามแบบที่เราต้องการทำขึ้นมา


2.พอได้แบบสเก็ตตามที่เราต้องการเรียบร้อยแล้วให้เรานำแบบสเก็ตไปสแกนแล้วนำมาดราฟในโปรแกรมIllustrator


3.พอเราได้ดราฟตัวอักษรที่เราต้องการไว้ทั้งหมดแล้วให้เรานำตัวอักษรที่ได้ทำการดราฟไว้มาลงในโปรแกรม FontLab Studio


4.พอนำมาวางในฟ้อนแลบเรียบร้อยแล้วให้เราเข้าไปดูขนาดความกว้าง ความสูง และระยะกั้นหน้ากั้นหลังของต้นแบบเพื่อที่เราจะได้ทำให้ฟ้อนนั้นขนาดเท่ากับต้นแบบ



พอได้แบบที่ต้องการแล้วให้เราลากเส้นมาร์คมาไว้เพื่อที่จะได้ทำตัวต่อๆไปโดยให้เราคลิกขวาไปบนเส้นมาร์คโดยเลือคำสั่ง Convert to global

5.นำฟ้อนต์ที่เราดราฟไว้มาวางแทนฟ้อนต์ต้นแบบ


ทำอย่างนี้ซ้ำกันจนแบบอักษรครับกับแบบต้นแบบ


6.พอทำเสร็จหมดแล้วให้เราทำการทดลองฟ้อนต์โดยเลือกคำสั่ง opentype โดยคลิกไปที่ Tools >Quick save as > และเลือกคำสั่ง open type


พอได้ขนาดความกว้าง ความสูง ระยะห่างกั้นหน้ากั้นหลังได้แล้ว ให้เราไปที่คำสั่ง Font info เพื่อที่จะได้ใส่ข้อมูลผู้ออกแบบฟ้อนต์และข้อมูลต่างๆของฟ้อน โดยเลือที่คำสั่ง File > Font info



7.พอใส่ข้อมูลต่างๆของฟ้อนเสร็จแล้วให้ทำการ Generate font ออกมาโดยไปที่คำสั่ง File > Genterate Font


พอเสร็จแล้วจะได้เป็นไฟล์ตัวอักษราำเร็จรูปขึ้นมาและพร้อมใช้งาน




มูดบอร์ดงานออกแบบฟ้อนต์

 

 



Thursday, March 29, 2018

สรุปงาน Gift on the moon





  เนื่องมาจากในงาน gift on the moon จะมีการจัดงานแสดงของสาขาศิลปกรรมโดยในวิชาการออกแบบตัวอักษรนี้ได้จัดทำชุดตัวอักษรเป็นประโยคขึ้นมาและทำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อที่จะจัดจำหน่ายภายในงาน gift on the moon

   STENCIL (กลุ่มที่ 5 )

  ในวิชาการออกแบบตัวอักษรนี้ได้จัดทำชุดตัวอักษรเป็นประโยคขึ้นมาและทำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อที่จะจัดจำหน่ายภายในงาน gift on the moon     


   ในส่วนของการทำงานเรื่มต้นจากการหาแรงบันดาลใจและต้นแบบทางความคิดเพื่อนำมาออกแบบและนำมาพัฒนาต่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ลักษณะแนวทางในการออกแบบคือจะใช้ตัวอักษรที่เป็นตัวหนาในรูปแบบไม่มีเชิง โดยดัดแปลงจากรูปทรงสี่เหลี่ยมในลักษณะต่างๆกันในมาผสมกันจนเป็นตัวอักษรที่มีลักษณะสอดคล้องกันโดยวิธีการทำนั้นจะทำโดยวิธีการทำ STENCIL สเตนซิ่วคือการทำลวดลายผ่านกระดาษหรือไม้โดยการฉลุให้เป็นบล็อคตามแบบขึ้นมา 
      ในทำแบบตัวอักษรครั้งนี้ได้ยกคำว่า CRU มาทำเพราะว่าในงาน GIFE ON THE MOON นี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยการออกแบบตัวอักษรให้มีขนาดสูง 3 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว ที่เลือกเป็นกระเป๋าค้องคอเพราะว่ากระเป๋าขนาดนี้สามารถใส่สิ่งของได้หลายอย่างและเหมาะสมกับคนทุกเพศทุกวัย ในการทำแบบนั้นเริ่มจากการนำแบบที่เราได้ทำการskethไว้มาทำบนโปรแกรม AI หรือ Illustrator เพื่อที่จำนำแบบตัวอักษรอันนี้มาปิ้นลงบนกระดาษฟิลม์ใสและขั้นตอนต่อไปก็นำแบบที่ปิ้นลงบนกระดาษฟิมล์ใสมาทำการตัดช่องที่ต้องการจะลงสีหลังจากการตัดเสร็จก็ลงสีตามแบบที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นรอสีที่ทำการเพ้นต์ให้แห้งและแกะแผ่นฟิมฟ์ใส่อย่างระมัดระวังเพื่อที่ในแบบจะได้ไม่มีการชำรุด




STENCIL (ลายฉลุ)



   Stencil ถ้าแปลความหมายนั้นคือ ลายฉลุ คือ การออกแบบลวดลายไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือตัวอักษรลงไปบนแผ่นกระดาษพลาสติก , แผ่นกระดาษแข็ง หรืออุปกรณ์อื่นๆในรูปแบบของกราฟฟิตี อาจใช้ปากกาหมึกสีดำวาดลวดลายขึ้นมาเอง หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบวาดขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นลงมือตัดกระดาษตามลวดลายที่เราออกแบบไว้ แล้วนำไปวาดโดยการฉีดสีสเปรย์ หรือทาสีทับลงไปตามลายฉลุที่เราตัดไว้แล้วทำให้เกิดเป็นรูปลายนั้นๆ ข้อดีของ Stencil อย่างหนึ่งคือ ลายฉลุที่เราออกแบบและตัดเรียบร้อยแล้วนั้น สามารถนำกลับมาใช้ใหม่อีกได้ด้วย อีกทั้งลวดลายของ Stencil นั้นออกแบบได้ง่ายมาก ตัวแบบเองก็ยังสามารถหาดูได้ในอินเทอร์เน็ต Stencil Art ได้รับความนิยมอย่างมากในงานประเภทของ street art หรือ Graffiti ที่เราพบเห็นได้บ่อยตามกำแพงพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเหล่าศิลปินจะใช้วิธีการพ่นสีสเปรย์ให้เกิดเป็นรูปขึ้นมา




STENCIL (ลายฉลุ)


Stencil ถ้าแปลความหมายนั้นคือ ลายฉลุ คือ การออกแบบลวดลายไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือตัวอักษรลงไปบนแผ่นกระดาษพลาสติก , แผ่นกระดาษแข็ง หรืออุปกรณ์อื่นๆในรูปแบบของกราฟฟิตี อาจใช้ปากกาหมึกสีดำวาดลวดลายขึ้นมาเอง หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบวาดขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นลงมือตัดกระดาษตามลวดลายที่เราออกแบบไว้ แล้วนำไปวาดโดยการฉีดสีสเปรย์ หรือทาสีทับลงไปตามลายฉลุที่เราตัดไว้แล้วทำให้เกิดเป็นรูปลายนั้นๆ ข้อดีของ Stencil อย่างหนึ่งคือ ลายฉลุที่เราออกแบบและตัดเรียบร้อยแล้วนั้น สามารถนำกลับมาใช้ใหม่อีกได้ด้วย อีกทั้งลวดลายของ Stencil นั้นออกแบบได้ง่ายมาก ตัวแบบเองก็ยังสามารถหาดูได้ในอินเทอร์เน็ต Stencil Art ได้รับความนิยมอย่างมากในงานประเภทของ street art หรือ Graffiti ที่เราพบเห็นได้บ่อยตามกำแพงพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเหล่าศิลปินจะใช้วิธีการพ่นสีสเปรย์ให้เกิดเป็นรูปขึ้นมา
วิธีการทำ Stencil
1.ร่างแบบตัวอักษรที่จะต้องทำแบบstencil

2.พอได้แบบเสร็จเรียนร้อยให้นำแบบไปทำในโปรแกรม illustrator 
3.พอทำแบบในโปรแกรม illustrator ให้นำไฟล์นี้ปิ้นออกมากับกระดาษฟิมล์ใส
และทำการตัดตามรอยที่เราจะต้องการลงสี


4.ทำการลงสีโดยใช้สีที่มีคุณสมบัติที่สามารถเพ้นต์ลงบนผ้าได้


5.พอเพ้นต์สีเสร็จแล้วให้รอสีให้แห้งแล้วตอนแกะแผ่นใสที่เป็นแม่แบบนั้นให้ระมัดระวังถ้าดึงแรงไปบางทีอาจจะทำให้สีนั้นลอกออกมา และควรระวังแม่แบบให้ทีเพราะบางทีแบบที่ทำเล็กไปอาจจะหลุดขาดได้ง่ายๆ



 แบบเสนอผลงานในแบบมูดบอร์ด MOOD BOARD

โดยในการทำมูดบอร์ดนั้นต้องมี 3 ปัจจัยหลักเลยคือ
1.สืบค้น ข้อมูลของเรื่องที่เราจะทำ
2.สมมติฐาน
3.สรุป ผลงานที่เราจะทำ


รายรับ-รายจ่ายในการทำสินค้างาน gife on the moon

กระเป๋า ราคาทุนต่อชิ้น 10 บาท โดยมีกระเป๋าจำนวน 25 ใบ
นำมาจำหน่ายในราคาต่อชิ้น 29 บาท
ซึ่งรวมทั้ง ค่าสี ค่าทำแผ่นฉลุ และค่ารถไปซื้อผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาจำหน่าย
โดยได้กำไรทั้งหมด 19 บาท
สรุปการขาย
  วันที่ 1
     ขายได้ทั้งหมด 13 ชิ้น (29x13=377)






วันที่ 2
    ขายได้ทั้งหมด(8x29=232)


วันที่ 3
    ขายได้ทั้งหมด (4x29=116)







issue รายงานออกแบบตัวอักษร

https://issuu.com/kitikohdrunkard/docs/________________________